
จากบทสัมภาษณ์ล่าสุดของ Eric Lambin สาขาวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนึ่งในผู้เข้าร่วมการศึกษาถึงสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อปริมาณถั่งเช่าในปัจจุบัน ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า “การที่สัญลักษณ์ของกลุ่มสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม (ตัวหนอนผีเสื้อ) กำลังใกล้สูญพันธุ์แล้วนั้น เป็นผลพวงมาจากความต้องการในการบริโภค เพราะความเชื่อต่างๆนาๆ ทางด้านสรรพคุณที่มีมาตั้งแต่อดีตกาล”
โดยกลุ่มนักวิจัยได้ประเมินถึงภัยคุกคามทั้งจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมา และมูลค่าในตลาดโลกที่ได้รับการตีตราให้มีมูลค่ามากกว่าทองคำถึง 3 เท่า
เป็นผลให้ปริมาณถั่งเช่าในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยนั้น มีปริมาณที่ลดลงอย่างชัดเจน โดยสามารถพบเจอได้แค่เฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นมากขึ้น และสูงขึ้นไปอีกเท่านั้น
ซึ่งในการตีพิมพ์ลง Proceeding of the National Academy of Sciences ในครั้งนี้ ยังรวมถึงข่าวที่ไม่สู้ดีนักของถั่งเช่า จากการตรวจพบสารปนเปื้อนที่อาจเป็นพิษต่อสุขภาพ ทั้งสารหนู และโลหะหนักต่างๆ อีกด้วย
แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะมีหลายประเทศ ได้ทำการทดลองเพาะเลี้ยงก็ตาม แต่ด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อน และการพบกับข้อจำกัดหลายประการ จึงทำให้มีการศึกษาเพิ่มเติมถึงถั่งเช่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีอันเหมาะแก่การเพาะเลี้ยง และพบปริมาณสารสำคัญที่ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ทิเบต
จนในที่สุด มีการศึกษาจนสำเร็จ และค้นพบว่า เห็ดถั่งเช่าสีทอง หรือสายพันธุ์ Cordyceps militilis นั้น เป็น 1 ในเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่ตรงตามคุณสมบัติดังกล่าว
ทั้งยังพบว่า
มีการตรวจพบปริมาณสารสำคัญบางชนิดสูงกว่าถั่งเช่าทิเบตอีกด้วย โดยเฉพาะ “คอร์ไดเซปิน” (Cordycepin) และ “อะดีโนซีน” (Adenosine) ที่มีสรรพคุณทางเวชศาสตร์ว่า มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของร่างกายแบบองค์รวมได้ถึงระดับของเซลล์
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว
การใฝ่หาพร้อมได้มาเพียงเพราะความเชื่อนั้น
อาจเป็นการขุด
หลุมพราง ให้กับวิจารณญาณตนก็เป็นได้
Ref : https://www.independent.co.uk/environment/himalayan-viagra-climate-change-ophiocordyceps-sinensis-fungus-ghost-moth-caterpillar-a8597576.html