
กิน “ถั่งเช่า” ติดต่อกันนานๆ จะเกิดสภาวะดื้อยาหรือไม่?
สภาวะดื้อยา (Resistance Microbial) โดยในปัจจุบันยังคงมีความเข้าใจกันแบบผิดๆ อยู่บ้าง ซึ่งอ้างอิงได้จากผลทางการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข และ เวลคัมทรัสต์ ซึ่งเป็นกองทุนด้านสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ พบว่า “ในทุกๆ ชั่วโมงนั้น จะมีจำนวนประชาชากรในประเทศไทยเสียชีวิตจากอาการดื้อยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 2 คน” โดยในช่วงปี 2010 มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียมีภาวะดื้อยาถึง 19,122 คน ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการที่คนไทยสามารถหาซื้อยารับประทานเองตามร้านขายยาได้ง่าย โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์
การดื้อยาของเชื้อโรคเกิดจากการที่ใช้ยามากเกินไป จนเชื้อพัฒนาให้สามารถต่อต้านได้ด้วยตัวเอง โดยเกิดขึ้นได้กับเชื้อทุกชนิด อยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยแค่ไหนตามลักษณะเฉพาะของเชื้อแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ยาว่า ถูกวิธีหรือไม่ โดยหลายคนอาจคิดว่า อาการป่วยทั่วไปนั้นเป็นอาการธรรมดาที่สามารถซื้อยารับประทานได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เช่น ไข้หวัด อาการท้องเสีย หรือแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ซึ่งแท้จริงแล้วของอาการเหล่านี้ สามารถหายได้เองโดยที่ไม่ต้องพบแพทย์หรือทานยาเลย
ข้อแตกต่างของยาที่ซื้อจากเภสัชกรกับยาที่ได้รับจากแพทย์นั้น นับว่ามีความแตกต่างกันตรงลักษณะของการวินิจฉัย คือ เภสัชกรจะไม่สามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้แม่นยำเท่ากับแพทย์ ในขณะที่แพทย์เองก็อาจจะไม่มีความรู้เรื่องการจ่ายยาเท่าเภสัชกร
ซึ่งนอกจากนี้ยังมีตัวยาบางประเภทที่คนทั่วไปนั้นมีความเข้าใจผิดอยู่ คือ ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือที่เรียกกันว่ายาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะยาต้านแบคทีเรียและยาแก้อักเสบนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นหากผู้ป่วยซื้อยารับประทานเอง ก็มีโอกาสที่จะได้ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านแบคทีเรียมาโดยที่เข้าใจว่า นั่นอาจเป็นยาแก้อักเสบ ซึ่งเมื่อได้รับประทานแล้วก็จะหายได้ทุกโรค จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น
นอกจากนี้ยังมียาปฏิชีวนะอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับยาแก้อักเสบ แต่ใกล้เคียงกับยาต้านแบคทีเรีย คือ เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อจนเกิดการอักเสบ ฤทธิ์ยาจะเข้าไปทำลายเชื้อโรคต่างๆ และส่งผลให้อาการอักเสบดังกล่างนั้นหายไปด้วย จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า ยาต้านแบคทีเรีย คือ ยาแก้อักเสบ
แต่ความจริงแล้ว การอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการติดเชื้อ เช่น โรคเก๊า หรือการเดินชนสิ่งของแล้วเกิดการบวม อาการเหล่านี้ คือ อาการที่ต้องใช้ยาแก้อักเสบ เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ยาทั้ง 3 ประเภทนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
ทั้งนี้อาการดื้อยาในร่างกายของเราสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะใช้ยาที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม แต่หากร่างกายได้รับยาที่ไม่ถูกต้อง นั่นหมายความว่า ร่างกายของเรานั้นใช้ยาเกินขนาดทำให้เกิดอาการดื้อยาโดยไม่จำเป็น
ซึ่ง “ถั่งเช่า” ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาจไม่ใช่ทั้งยา อาหารเสริม และสมุนไพร แต่ก็ยังถูกเรียกว่า “ยา” อยู่ดี และยังมีคุณสมบัติหลายประการที่ใกล้เคียงกับยาสมุนไพร จนบางครั้งเผลอเรียกหรืออุปโหลกกันไปว่าเป็น “สมุนไพร” จึงอธิบายเทียบเคียงได้ดังนี้
ยาจำพวกสมุนไพรในปัจจุบันนั้น ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมากขึ้น เพื่อการใช้รักษาโรคหรือการใช้เป็นอาหารเสริม โดยอาจเป็นเพราะสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่า และประโยชน์ของสมุนไพร แต่หากมีการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี สมุนไพรก็อาจจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ใช้ได้ ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบัน เริ่มมีรายงานทางคลินิกเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้สมุนไพรมากขึ้น
สมุนไพรที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกาศเตือนให้ระวังถึงความปลอดภัยจากการใช้ 9 ชนิดในปี ค.ศ.1993 ได้แก่ Chaparral, Comfrey, Yohimbe, Lobelia, Germander, Willow Bark, Ma huang, Jin Bu Huan (ตำรับสมุนไพรจีน),ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสมุนไพรกลุ่ม Stephania และ Magnolia species
อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สมุนไพร สามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม (สมุนไพร 1 ชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่า 1 กลุ่ม) โดยข้อมูลบางส่วนมีหลักฐานยืนยันแน่นอน บางส่วนอิงข้อมูลจากการทดลอง (สัตว์ทดลอง และ/หรือ หลอดทดลอง) และบางส่วนก็มีเพียงกรณีศึกษาเท่านั้น
อันตรายจากการใช้สมุนไพรจำแนกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)
2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions)
3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)
4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions)
5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี (Mistaken plants, Mistaken preparation)
6. การปนเปื้อนในสมุนไพร (Contamination)
7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน (Adulterants)
ซึ่งการกำหนดว่า ถั่งเช่า จัดอยู่ในกลุ่มยาสมุนไพร จึงจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้ด้วยเช่นกัน เช่น ในทางการแพทย์ และทางเภสัชกรรมแผนไทย อาจรวมถึงในแผนจีนที่มีการกล่าวถึง กลุ่มยาร้อน – กลุ่มยาเย็น ไว้เป็นตัวอย่างว่า “ในการรับประทานยาสมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมดุลของธาตุในร่างกายเปลี่ยนแปลงได้” เช่น
1. กลุ่มยาร้อน ความร้อนสะสมมากไปก็จะทำให้ ภายในร่างกายร้อน มีไข้ เป็นแผลร้อนใน เช่น โสม ขิง ขมิ้นชัน ถั่งเช่า ฯ
2. กลุ่มยาเย็น ความเย็นสะสมมาก ทำให้ภายในร่างกายเย็น ซีดเหลือง มีอาการเหน็บชา ท้องอืดได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร หลินจือ รางจืด ฯ
3. กลุ่มยาลม เมื่อลมสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้เรอ ผายลมตลอดเวลา ร้ายแรงสุดก็ทำให้เป็นอัมพาตได้ เช่น ขิง ข่า ตระไคร้ ฯ
ซึ่งการกินยาทุกชนิดในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นยาหรือสมุนไพรที่มีการทานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะกลายเป็นภาระในการทำงานของไต มีความเป็นพิษต่อตับ ระบบเลือด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
ดังนั้น การจะอธิบายว่า ยา หรือ สมุนไพร ตัวใดตัวหนึ่ง รวมอยู่ในประเด็นว่า ไม่ควรทานติดต่อกันไปนานๆ นั้น อาจเป็นเพราะ สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ จึงถูกเชื่อมโยงไปยัง อาการดื้อยา ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นได้ แต่อยู่ในเหตุผลที่เหมือนและแตกต่างกัน คือ
ส่วนที่เหมือนดื้อยา หมายถึง ทานยาชนิดหนึ่ง เช่น ยาปฏิชีวนะติดต่อกันนานๆ สุดท้ายเชื้อโรคจะมีการพัฒนาตัวเองให้แข็งแรง จนยาปฏิชีวนะตัวเดิมใช้ไม่ได้ผลอีก ต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นตัวยาที่แรงขึ้น แบบนี้ คือ เชื้อดื้อยา โดยสามารถเข้าใจง่ายๆ คือ ทานยาก็เหมือนไม่ได้ทาน คือ ทานแล้วก็ไม่หาย ใช้รักษาโรคก็ไม่ได้
เมื่อเทียบกับสมุนไพร คือ ทานยาตัวหนึ่งไปนานๆ แล้วเกิดความรู้สึกว่า ทานไปก็เหมือนไม่ได้ทาน เพราะไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ แสดงออกมาเลย ทุกวันที่ทานรู้สึกอย่างไร ก็ยังเป็นความรู้สึกเดิมๆ แต่พอหยุดทานเพียงไม่นาน กลับรู้สึกอ่อนล้าหรือ เหมือนขาดบางสิ่งบางอย่างไป โดยในศาสตร์ทางการแพทย์ทั้งแผนไทย แผนจีน และแพทย์แผนปัจจุบัน จึงมีคำเตือนที่ไม่ให้ทานยาใดๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อยาขึ้นได้นี่เอง
แล้วถั่งเช่าล่ะ… มีการดื้อยาหรือไม่? ควรทานอย่างไร?
ถั่งเช่าจัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้งยาและไม่ได้เป็นสมุนไพร การทานถั่งเช่าจึงคล้ายคลึงกับการรับประทานอาหารทั่วๆ ไปนั่นเอง เช่น กระเทียม หัวหอม ตะไคร้ ขิง ฯ ที่สามารถรับประทานได้ในทุกวันหรือทุกมื้อในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไปนั่นเอง (โดยสามารถทานกระเทียมสดทุกมื้อ เช่น มื้อละ 2-3 กลีบได้ โดยอาจพึงพอใจในรสชาติ สบายใจในการลดเสมหะ การดื่มน้ำตะไคร้หอมหรือน้ำขิงทุกวันๆ ละ 1 แก้ว ก็สดชื่น ลดไข้ ทานแล้วเย็น สบายดี เหล่านี้ ก็ล้วนไม่ก่ออันตรายใดๆ ต่อร่างกาย
และถั่งเช่าก็เช่นกัน คือ ทานแต่เพียงพอดีก็เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่จะเกิดผลอย่างไรนั้น เราอาจใช้ความรู้สึก และอารมณ์เป็นตัวช่วยสนับสนุนได้ ดั่งเช่น การดื่มกาแฟวันละ 1 แก้ว ในตอนเช้าหรือหลังมื้ออาหารนั่นเอง โดยในวันแรกที่ดื่ม เรามักจะรู้สึกดี สดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อเริ่มดื่มเป็นประจำทุกวัน เราก็จะรู้สึกเคยชินจนกลายเป็น ความรู้สึกแบบเฉยๆ หลักการคือ การได้ทานถั่งเช่าในทุกๆ วัน ก็เปรียบได้กับการทานกระเทียมนั่นเอง คือ สามารถทานทุกวันได้ ทั้งยังช่วยให้ ร่างกายมีสมดุลที่ดี แข็งแรง มีภูมิต้านทาน หลับสบาย สดชื่น เลือดไหลเวียนคล่องตัว ไม่เหนื่อยง่าย ซึ่งหากร่างกายเราคุ้นชินกับสภาพเช่นนี้ จนรู้สึกว่าทานก็เหมือนไม่ได้ทาน ก็ให้ทดลองหยุดทานสัก 1 สัปดาห์ ซึ่งเราก็ยังเป็นปกติดี (หากหยุดทานจริงๆ ได้ ก็สามารถหยุดทานได้เลย) และหากนึกอยากทานขึ้นมาใหม่ ก็หยิบมาทานได้อีกเช่นกัน
กล่าวโดยสรุปคือ เราสามารถรับประทานถั่งเช่าได้อย่างเป็นประจำทุกวันได้ในปริมาณที่พอดี และในทางเดียวกัน หากอยากหยุดทานในวันใด ก็สามารถทำได้ไม่เสียหายแต่ประการใด ซึ่งการทานถั่งเช่าต่อเนื่องกันเป็นปี และหยุดทานสักประมาณ 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน ก็ยังนับเป็นส่วนหนึ่งในทางศาสตร์ของชาวจีนที่นิยมทำกัน อาจด้วยเหตุผลเพื่อให้ร่างกาย ได้พักจากการถูกกระตุ้น หรือเพื่อการหมุนเวียนที่คล่องตัว ให้กลับมาเป็นลักษณะที่อืดอาด เชื่องช้าลงเสียบ้าง และเมื่อได้กลับมาทานรอบใหม่ รวมทั้งการได้กลับมาสดชื่นใหม่อีกครั้ง ก็ยิ่งอาจจะทำให้รู้สึกเห็นคุณค่าและรู้สึกดีขึ้นมากกว่าเดิมอีกเช่นกัน
ref
https://bit.ly/2yCkIxS
https://bit.ly/33dFhPg