
โรคไต นับเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบสุดอันตราย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรคร้ายที่มักจะไม่แสดงอาการในช่วงแรกๆ หรืออาจมีอาการแย่ลงได้ทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว จนอาจนำไปสู่อาการเรื้อรัง และเข้าขั้นวิกฤติในสภาวะไตวายในที่สุด ซึ่งส่งผลให้จำเป็นต้องเข้ารับการฟอกเลือด หรือการเปลี่ยนไตต่อไป
โดยผู้ป่วยในเคสของการปลูกถ่ายไตนั้น จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันร่วมในการรักษาดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในระดับที่สูง
หลังความพยายามในการศึกษา ก็มีการค้นพบจากรากเหง้าของความเชื่อในอดีตกาลถึงคุณสมบัติของถั่งเช่าที่ส่วนหนึ่งได้อธิบายถึงตำนานสมุนไพรชนิดนี้ว่า สามารถช่วยรักษาโรคไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในเวลาต่อมาจึงมีการวิจัยถึงผลของการรับประทานถั่งเช่าในผู้ป่วยปลูกถ่ายไต โดยใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 180คน แบ่งออกเป็น 2กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากถั่งเช่า และกลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน เพื่อเปรียบเทียบการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านไตของร่างกาย การติดเชื้อ และอัตราการรอดชีวิตหลังการปลูกถ่ายไต
โดยมีการติดตามผลในช่วง 1-5 ปี ผลพบว่า กลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากถั่งเช่ามีอัตราการติดเชื้อ ค่าการทำงานของตับ และค่าเอนไซม์ต่างๆ ลดลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานในช่วง 3-5ปี
นอกจากนี้ อัตราการรอดชีวิต และผลจากการปลูกถ่ายไตได้สำเร็จของผู้ป่วยในกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากถั่งเช่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานถั่งเช่า ซึ่งชี้ให้เห็นว่า…
สารสกัดจากถั่งเช่าอาจช่วยลดอัตราการปฏิเสธการปลูกถ่ายไตของร่างกาย ช่วยการทำงานของตับและไต กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด และลดการติดเชื้อในผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไต
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งงานวิจัยที่ร่วมสนับสนุนรายงานดังกล่าว ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ถั่งเช่าอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายไต โดยการใช้ถั่งเช่าร่วมกับการรักษาควบคู่กับยากดภูมิคุ้มกัน
โดยจากการทดลองให้ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายไต 202 คน กลุ่มหนึ่งรับประทานถั่งเช่าในปริมาณ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ควบคู่กับยากดภูมิคุ้มกัน และอีกกลุ่มรับประทานเฉพาะยากดภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียว
ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ถั่งเช่า รวมถึงยังลดอัตราการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และความเสี่ยงต่อภาวะไตปลูกถ่ายเสื่อมเรื้อรังให้ช้าลง
ผลการศึกษาในข้างต้นจึงแสดงให้เห็นว่า ถั่งเช่ามีส่วนช่วยและเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายไต โดยช่วยลดปริมาณการใช้ยาให้น้อยลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการอยู่รอดของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตในระยะยาว